วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

อานิสงส์บวชพระ

จากหนังสือ พ่อสอนลูก (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) 

องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบทบรรพชามีอานิสงส์พิเศษ ซึ่งองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสว่า อานิสงส์อย่างอื่น มีการสร้างวิหารที่ดี การถวายสังฑานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงส์สำคัญ แต่อานิสงส์นี้นั้น บุคคลที่จะพึงได้ต้องโมทนาก่อน

แต่ว่าการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า "สมมุติว่าบุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่อุปสมบทบรรพชานั้น บิดามารดาไม่ทราบ บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์นั้นโดยสมบูรณ์ การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่าเป็นกุศลพิเศษ" 

คำว่า "บรรพชา" หมายความว่า บวชเป็นเณร คำว่า "อุปสมบท" หมายความว่า บวชเป็นพระ

ท่านที่บรรพชาในพระพุทธศาสนาเป็นสามเณร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านผู้บรรพชาเอง คือ เณร ถ้าประพฤติปฏิบัติดีก็เป็นการลงทุนซื้อสวรรค์ ถ้าปฏิบัติเลว การบวชพระบวชเณรก็ถือว่าเป็นการซื้อนรก ท่านที่บวชป็นเณรเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้วประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามระบบธรรมวินัย สำหรับท่านผู้เป็นเณรนั้นไซร้ ย่อมมีอานิสงส์ถ้าตายจากความเป็นคน ถ้าจิตของตนมีกุศลธรรมดาไม่สามารถจะทรงจิตเป็นฌาน ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนสวรรค์ได้ถึง ๓๐ กัป 


ถ้าหากว่าทำจิตของตนเกือบเป็นฌาน ได้ฌานสมาบัติ ตายจากความเป็นคนจะเกิดเป็นพรหม มีอายุอยู่ถึง ๓๐ กัปเช่นเดียวกัน
อายุเทวดาหรือพรหมย่อมมีกำหนดไม่ถึง ๓๐ กัป ก็หมายความว่าเมื่อหมดอายุแล้วก็จะเกิดเป็นเทวดาใหม่ เกิดเป็นพรหมใหม่อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง ๓๐ กัปหรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้าพระนิพพานก่อน 


บิดามารดาของสามเณร ย่อมได้อานิสงส์คนละ ๑๕ กัป ครึ่งหนึ่งของเณร
องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสต่อไปว่า บุคคลผู้มีวาสนาบารมี คือมีศรัทธาแก่กล้า ตั้งใจอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเป็นพระสงฆ์ แต่ว่าเมื่อบวชแล้วก็ต้องปฏิบัติชอบ ประกอบไปด้วยคุณธรรม คือ มีพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ ท่านที่บวชเป็นพระด้วยตนเอง จะมีอานิสงส์อยู่เป็นเทวดาหรือพรหม ๖๐ กัป บิดามารดาจะได้คนละ ๓๐ กัป นี้เป็นอานิสงส์พิเศษ

แต่ทว่าภิกษุสามเณรท่านใดทำผิดบทบัญญัติในพระพุทธศาสนา ก็พึ่งทราบว่าเวลาตายก็มีอเวจีเป็นที่ไปเหมือนกันอานิสงส์ที่พึงได้ใหญ่เพียงใดโทษก็มีเพียงนั้น 
สำหรับผู้ที่ช่วยในการบวช การอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา คือบำเพ็ญกุศลร่วมกับเขา ด้วยจตุปัจจัยมากบ้างน้อยบ้าง ช่วยขวนขวายในกิจการงานในการที่จะอุปสมบทบ้าง อย่างนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้นั้นจะมีอานิสงส์เสวยความสุขอยู่บนสวรรค์ หรือในพรหมโลกคนละ ๘ กัป 


แต่ถ้าเป็นคนฉลาด อย่างที่วัดนี้เขาบวชพระกัน ๔๒ องค์ เราก็บำเพ็ญกุศลช่วยในการบวชพระ ใม่เจาะจงเฉพาะท่านผู้ใดผู้หนึ่ง เรียกว่าช่วยทั้งหมดทั้ง ๔๒ องค์ ก็ต้อง ๔๒ องค์ ตั้งเอา ๘ คูณ

อานิสงส์กุศลบุญราศีท่เราจะพึงได้สำหรับท่านผู้เป็นเจ้าภาพ ในฐานะคนที่บวชไม่ได้เป็นบุตรของเรา แต่ว่าเป็นผู้จัดการขวนขวายในการอุปสมบทบรรพชาให้ อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้จัดการบวชจะได้อานิสงส์ ๑๒ กัป จะมีผลลดหลั่น ซึ่งกันและกัน 

การที่นำเอาอานิสงส์บรรพชากุลบุตรกุลธิดาไว้ในพระพุทธศาสนามาแสดงแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะเห็นว่าในเวลานี้ บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายยังไม่ค่อยจะมีความเข้าใจคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วในข้อนี้ อีกประการหนึ่ง การจะบวชลูกหลานเข้าไว้ในพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจจะเอาบุญ ถือทำกันตามประเพณีเป็นสำคัญ พอเริ่มการจัดงานก็มีการฆ่าไก่บ้าง ฆ่าปลาบ้าง ฆ่าหมูบ้าง ฆ่าวัวฆ่าควายบ้าง เอาสุราเบียร์เข้ามาเลี้ยงกันบ้าง ถ้าทำกันตามประเพณีแบบนี้ก็จะได้ชื่อว่า ไม่มีอานิสงส์กุศลบุญราศีอะไรเลย เพราะมีเจตนาชั่ว คือเริ่มต้นก็ทำบาปก่อนแล้วองค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า ถ้าจิตเป็นอกุศล กุศลใดๆ ที่ตนคิดว่าจะทำมันก็ไม่ปรากฏ

ฉะนั้น ในการใด ถ้าเราจะบำเพ็ญกุศลบุญราศีให้ปรากฏเป็นผลดีก็ขอให้การนั้นเป็นการที่บำเพ็ญกุศลจริงๆ จงเว้นกรรมที่เป็นอกุศลเสียให้หมด งดสิ่งที่เป็นกรรมชั่วทุกประการ ตั้งใจไว้เฉพาะบำเพ็ญกุศลบุญราศีเท่านั้น

กุลบุตรที่บวชในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ความผ่องใสของท่านผู้บวชก็มีขึ้น คือ จิตผ่องใสปราศจากอารมณ์ที่เป็นกิเลส ต่อมาปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ คือเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จนอารมณ์ชื่นบานเข้าถึงธรรมปีติ คำว่า ธรรมปีติ หมายความว่า ยินดีในการปฏิบัติความดีในด้านพระธรรมวินัยอย่างหนึ่ง ยินดีในการเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา อานิสงส์กุศลบุญราศีก็เกิด 


องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปรียบเทียบไว้ว่า ผู้ใดอุปสมบทบรรชาในพระพุทธศาสนาแล้ว วันหนึ่งทำจิตใจว่างจากกิเลสเพียงวันละชั่วขณะจิตเดียว เวลานอกนั้นจิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ แต่พยายามควบคุมกำลังใจไม่พลาดพลั้งจากพระธรรมวินัย ท่านผู้นั้นบวชเข้ามาแม้แต่วันเดียว ก็ย่อมมีอานิสงส์ดีกว่าพระที่บวชเข้าในพระพุทธศาสนาตั้ง ๑๐๐ ปี มีศีลบริสุทธิ์ แต่ไม่เคยเจริญสมาธิจิต คือ ทำจิตว่างจากกิเลสวันหนึ่งชั่วขณะจิตเดียว มีรัศมีกายสว่างไสวกว่า 

รวมความว่า การอุปสมบทบรรชาในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพาน และมีอานิสงส์เป็นสามัญผล คือผลที่เสมอกัน คนที่บวชในพระพุทธศาสนาจะลูกผู้ดีหรือยากจนเข็ญใจย่อมมีสิทธิเสมอกันในการทรงสิกขาบท และในการกำหนดจิตปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

ถามพระท่านว่า ถ้าพระพวกนั้นจะทำบุญบวชพระบ้าง ทั้งๆ ที่ตัวเองก็บวช และทำบุญด้วยจะมีอานิสงส์เหมือนญาติโยมไหม 


พระท่านก็บอกว่า ถ้าเขาจะทำบุญต้องทำบุญก่อนที่เขาบวช นั่นหมายความว่า ขณะที่บวชก็เอาเงินมาช่วยกับกองกลางเท่าไรก็ตามที่จะพึงมีตั้งใจบวชพระทั้งหมด ท่านพวกนั้นจะมีอานิสงส์นอกจากของตัวเอง ๖๐ กัปแล้ว จะมีอานิสงส์เป็นเจ้าภาพด้วย เอา ๑๒ คูณ จำนวนองค์ที่บวช

ถามว่า ถ้าพระทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อบวชแล้วจึงรู้อานิสงส์ เมื่อบวชแล้วเอาสตางค์มาร่วมในการทำบุญบวชพระ

ท่านบอก อันนี้ไม่ใช่แล้ว นั่นต้องเป็นทานบารมีปกติ เป็นถวายสังฆทานไป อานิสงส์นับกัปไม่ได้ แต่มีความร่ำรวยแน่ รวยทุกชาติ

การอุทิศบุญ ของหลวงพ่อฤษีลิงดำ


การอุทิศบุญ ของหลวงพ่อฤษีลิงดำ
คำอุทิศส่วนกุศล
อิทัง ปุญญะผะลัง  ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด 

**************************************************************************
คำอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย
ท่อนที่หนึ่ง
"อิทัง ปุญญะผะลัง" ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

บทอุทิศส่วนกุศลท่อนแรกนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร หลวงปู่โตท่านมาบอก และบทอุทิศส่วนกุศลอีก ๓ ท่อน ท่านพระยายมราชท่านมาบอก มีดังนี้


ท่อนที่สอง

และข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด

ท่อนที่สาม

และขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

ท่อนที่สี่

ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด.

อานิสงส์ถวายอัฏฐะบริขาร


อัฎฐมีทั้งหมด๘ อย่างคือ ผ้าไตร, บาตร ,เครื่องกรองน้ำ ,มีดเล็ก, ผ้าปูนั่ง ,ประคตเอว, เข็มและด้าย ,กรด ในพระวินัยมุขเล่ม๑
ผู้ใดได้ถวายอัฏฐะบริขาร จะอุดมไปด้วยทรัพย์ พานพบที่สิ่งที่เป็นมงคล นำมาซึ่งอายุ วรรณะ สุขะ พละ
และความเจริญทั้งปวง
ถวายอาสนะ, ที่นอน, หมอน, มุ้ง
จะได้ไปเกิดในตระกูลขัตติยมหาศาลบริบูรณ์ ได้ทรัพย์สมบัติ และบริวารที่ดีเป็นอันมาก อีกทั้งยังถือเป็นการ
ต่ออายุให้บิดา มารดา
ถวายผ้าอาบน้ำฝน ผ้านุ่งห่มต่างๆ
ได้ผลบุญตอบแทนทันทีในปัจจุบันจากแรงอธิษฐาน นำมาซึ่งอายุ วรรณะ สุขะ พละ และความเจริญทั้งปวง
ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จะเป็นผู้มีผิวพรรณ งดงาม สุ้มเสียงไพเราะ มีลาภยศ และบริวารแวดล้อมถึงซึ่งความ
สำเร็จเสมอไป อีกทั้งยังเป็นการสะสมปัจจัยอันยิ่งใหญ่ เพื่อเดินทางสู่ภพต่อไป เมื่อดับชีพวายชนม์
ก็ไปเกิดบนสรวงสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติสืบไป

เรื่องเล่าอานิสงส์ในสมัยพุทธกาล
ในกาลครั้งหนึ่ง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อพระองค์เสด็จอาศัยกรุงสาวัตถี อันเป็นที่โคจรบิณฑบาต
เสด็จประทับอยู่ในบุพพารามวิหาร ณ ป่าเชตวัน มีมหาเศรษฐีผู้หนึ่งอยู่ในบ้านสถาน ชื่อว่า หะโตสะเศรษฐี
ปลูกโรงมณฑปไว้หน้าเรือนของตน และทำสร้างแปลงอัฏฐะบริหาร ๘ ประการเป็นต้นว่า ผ้าจีวร
สบง สังฆาฏิ บาตรและผ้ากรองน้ำ คิลานเภสัช และขวานสิ่ว เสื่อสาดอาสนะ ครบเครื่องอัฏฐะ แล้วทำการ
มหรสพอันยิ่งใหญ่ประจบครบ ๗ วัน แล้วจึงนำกองอัฏฐะ เข้าไปสู่ป่าเชตวัน ณ บุพพรามวิหารอันเป็นที่ประทับ
แห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ถวายบิณฑบาต และอัฏฐะ แก่พระพุทธองค์กับทั้งพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป เสร็จจาก
การภัตตากิจแล้ว ก็กราบทูลถามถึงองค์ผู้เจริญ อันบุคคลที่มีจิตศรัทธา ประสันนาการ มาสร้างอัฏฐะ บริขาร
๘ ประการให้เป็นทาน จะได้อานิสงส์ อย่างไรพระเจ้าข้า

องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเทศนาว่า ดูกรเศรษฐีบุคคลใด ที่มีใจศรัทธาเลื่อมใส มาก่อสร้างบริการ
๘ ประการ ถวายเป็นทานก็จะได้อานิสงส์ ๓๖ กัล์ป บุคคลผู้นั้นจะไม่ไปสู่อบายภูมิได้ ๑๐๐ ชาติ จะได้เสวยสมบัติ
ในชั้นสวรรค์ภายหลัง จะได้พระนิพพานสมบัติ อันสิ้นภพ สิ้นชาติสิ้นทุกข์สิ้นภัย ไม่เวียนว่ายตายเกิด
ในวัฏฏสงสาร การถวายทานด้วยเครื่องอัฏฐะบริขารนี้ เป็นเยี่ยงอย่างประเพณี แห่งพระบรมโพธิสัตว์
สืบ ๆ กันมา พระพุทธองค์จึงนำอดีตนิทานมาเทศนาว่า

ดูกรเศรษฐีในอดีตกาลล่วงมาแล้ว ในครั้งพระบรมโพธิสัตว์ บำเพ็ญพระบารมีบริบูรณ์
ได้ตรัสรู้ปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ทรงพระนามว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระมหากรุณา
โปรดเวไนยบรรพสัตว์ ให้ตั้งอยู่ในทางสวรรค์และทางนิพพาน ครั้งนั้นยังมีบุรุษเข็ญใจ
เลี้ยงชีวิตด้วยความลำบากไปเที่ยว เก็บผักหักฟืน มาขายเลี้ยงชีวิตอยู่มาวันหนึ่งไปเห็น
พระปัจเจกโพธิองค์หนึ่ง อยู่ในป่า ก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ในพระปัจเจกโพธิ เข้าไปถวายอภิวาท
แล้วแบกเอามัดฟืน และผักกับมาขายได้เงินพอสมควร แล้วจึงนำไปซื้อผ้าแพรมาทำเป็นผ้าสบง
จีวรสังฆาฏิบาตรครบเครื่องอัฎฐะ แล้วจึงนำเข้าไปถวายแก่ พระปัจเจกโพธิเจ้า แล้วจึงตั้งปฏิธาน
ด้วยเดชะบุญแห่งข้าพเจ้าได้ทำทานในครั้งนี้
ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากความเข็ญใจได้ยาก เหมือนดั่งชาตินี้ และเมื่อข้าพเจ้าได้ท่องเที่ยว
อยู่ในวัฏฏสงสารตราบใด ขอให้ข้าพเจ้า บริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ให้ได้จำแนกแจกทานแก่ท่านผู้มีศีล
และคนยาจกวณิพกคนขอทุกทั่วหน้า และขอให้ข้าพเจ้า ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ
ครั้นปรารถนาแล้วก็กลับไปสู่บ้านเรือนของตนขวนขวายหาเลี้ยงมารดา ตราบเท่าสิ้นอายุ ก็ไป
บังเกิดสวรรค์ชั้นดุสิต มีวิมานทองสูง ๒๘ โยชน์ มีนางฟ้าเทพอัปสร ๕๐๐
เป็นบริวาร ครั้นจุติจากตุสิตพิภพแล้ว มาถือกำเนิดในตระกูล สากยะเสตะราชกรุงสาวัตถี
บริบูรณ์ด้วย โภคสมบัติ ครั้นเจริญวัยขึ้นก็ได้เสวยราชสมบัติแทนบิดา ทรงพระนามว่าสมเด็จ
พระยาปัสเสนทิโกศล ในกาลบัดนี้ครั้นจบพระธรรมเทศนาแล้ว หะโตสะเศรษฐีได้ทูลลาไป
สู่เรือนของตน ครั้นเมื่อสิ้นอายุขัยแล้วก็ไปบังเกิดในดุสิตเสวยทิพย์สมบัติ มีวิมานทองสูง
๒๐ โยชน์ มีเทพอัปสร ๓ หมื่น เป็นบริวาร

กุศลชนิดใดที่มีอานิสงส์มากกว่าวิหารทาน

เรื่องของ "ทาน" ตั้งแต่ตอนนี้ไป จะรวบรวมปัญหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง"ทาน" ซึ่งมีผู้เรียนถาม ท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อพระมหาวีระถาวโร ) แห่งวัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี มาเสนอการตอบของหลวงพ่อพระมหาวีระ ท่านจะตอบด้วยถ้อยคำ สำนวนแบบชาวบ้าน เข้าใจง่ายๆ...เชิญติดตามได้เลยครับ


ผู้ถาม "หลวงพ่อครับ กุศลชนิดใดที่มีอานิสงส์มากกว่าวิหารทานบ้างครับ ?"


หลวงพ่อ "สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ......การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง ให้ธรรมทานซีคุณ หนังสือเรียนของเด็ก หนังสือเรียนของผู้ใหญ่หนังสือเรียนของพระหนังสือธรรมะต่างๆ ดูตัวอย่างพระสารีบุตร ให้ปัญญากับประชาชนทั้งหลาย เพราะอานิสงส์ได้เคยสร้างพระธรรม ซึ่งเป็นถ้อยคำที่มีประโยชน์ถวายพระพุทธเจ้า เกิดมาชาติหลังสุด จึงทำให้เป็นพระที่มีปัญญามาก อย่างเงินที่เขาถวายฉันไว้นี่ พอกลับไปถึงวัดก็เรียบร้อย เลี้ยงอาหารพระบ้าง ค่ากระแสไฟฟ้าบ้าง ค่าก่อสร้างบ้าง รวมความว่า ที่ท่านตั้งใจนี่มีผล ๔ อย่าง 

๑. สร้างพระพุทธรูป 
๒. วิหารทาน 
๓. สังฆทาน 
๔. ธรรมทาน 


ทั้งหมดนี้ ใช้ทุนไม่ต้องมากก็ได้ เอาสัก ๕๐ สตางค์ เป็นอันว่า การทำบุญเอาแค่พอสมควร แต่ให้มันเป็นบุญใหญ่ เขามุ่งแบบนั้นนะ คือเราเอาไปผสมกับเขาก็แล้วกันไม่ต้องสร้างทั้งหลัง"


ผู้ถาม "กระผมสงสัยเรื่องการทำบุญ บางคนก็ทำช้า บางคนก็ทำไว อยากเรียนถามหลวงพ่อว่า การทำบุญช้าบ้าง เร็วบ้าง ยืดยาดบ้าง อานิสงส์ จะต่างกันหรือไม่ขอรับ ?"

หลวงพ่อ "ต่างกัน คือได้ช้า ได้เร็ว ต่างกันก็เหมือนท่าน จูเฬกสาฎก ท่านฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้า ตั้งใจถวายทานตั้งแต่ยามต้น และยามที่ ๒ จิตเป็นห่วงยายที่บ้าน ไม่มีโอกาสจะฟังเทศน์ เพราะไม่มีผ้าห่ม พอยามที่ ๓ ใกล้สว่าง จึงตัดสินใจถวาย แล้วประกาศว่า 


"ชิตัง เม ชิตัง เม" พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ยิน ก็ทราบว่า ชนะความตระหนี่ จึงนำผ้าสาฎก และทรัพย์สินต่างๆมาให้ มีฐานะเป็นคหบดีคนหนึ่งต่อมาพระพุทธเจ้าตรัสว่า "ถ้าพราหมณ์นี้ถวายในยามต้น จะได้เป็นมหาเศรษฐีถ้าถวายยามที่ ๒ จะได้เป็นอนุเศรษฐี ยามที่ ๓ จะได้เป็นคหบดีใหญ่ที่ได้น้อย เพราะถวายช้าเกินไป พระองค์จึงตรัสว่า การบำเพ็ญกุศลผล ความดีในศาสนาของเรานี้ จงอย่าให้เนิ่นช้า ต้อง ตุลิตะ ตุลิตัง สีฆะ สีฆัง คือเร็วๆ ไวๆ"



โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ



------------------------------------------------------------------------------












หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๒๓ : สารพันปัญหาว่าด้วยเรื่องทาน ( ๑๑ )


ที่มา?ҹ : Dhamma Department Store : Dhammathai.org


ผู้ถาม "หลวงพ่อคะ ถวายสังฆทานให้พระองค์เดียวได้ไหมคะ ?"


หลวงพ่อ"ได้ แต่พระไปฉันองค์เดียว พระองค์นั้นลงนรก นี้เรื่องจริงนะอย่างฉันรับนี่ ฉันรับองค์เดียว แต่ว่าองค์เดียวนี่ ถือว่าเป็นผู้แทนคณะสงฆ์นะอย่าไปกินไปใช้แต่ผู้เดียว นี่ไม่ได้ ของเขาย่อมมีอานิสงส์สมบูรณ์แบบพระองค์เดียวหรือพระ ๓ องค์ ถือว่าเป็นผู้แทนสงฆ์ พระ ๓ องค์ ก็แบ่งไปใช้แค่ ๓ องค์ไม่ได้จะต้องไปรวมทั้งคณะ คำว่า สังฆทาน สังฆะ เขาแปลว่า หมู่ "


"ลูกเป็นคนยากจน มีเงินน้อย อยากจะได้อานิสงส์มากๆ จะทำบุญอย่างไรดีคะ?" 


หลวงพ่อ "คืออานิสงส์จริงๆ ต้องทำบุญให้มากที่สุดเท่าที่จะพึงทำได้ สมมติว่าเรามีเงินอยู่ ๑๐ บาท จะไปมาที่นี่ เสียค่ารถ ๖ บาทกินก๋วยเตี๋ยว ได้ครึ่งชามแล้ว หมดไป ๙ บาท เหลือ ๑ บาทเขียนที่หน้าซองเลยว่าเงินนี้ถวายสังฆทาน วิหารทานและธรรมทานคนนี้อานิสงส์มากเหลือเกิน จำนวนเงินเขาไม่จำกัด เขาจำกัดกำลังใจถ้ากำลังใจมุ่งด้านดีนะ การทำบุญมากๆ คำว่า "ทำมาก" หมายความว่า ทำบ่อยๆ แต่คำว่า "บ่อย" ไม่ต้องทุกวันก็ได้นะ คำว่า "มาก" หมายความว่า ทำเต็มกำลังที่พึงทำไม่ใช่ขนเงินมามากเวลาทำบุญ ต้องดูก่อนว่า ค่าใช้จ่าย เรามีความจำเป็นเพียงไรเงินที่มีความจำเป็น อย่านำมาทำบุญ มันจะเดือดร้อนภายหลังและให้เหลือส่วนนั้นไว้บ้าง แล้วแบ่งทำบุญพอสมควรและประการที่ ๒ การทำบุญถ้าใช้วัตถุมาก แต่กำลังใจน้อย ก็มีอานิสงส์น้อยถ้าหากใช้วัตถุน้อย กำลังใจมีมากก็มีอานิสงส์มาก อย่างถวายสังฆทาน ที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทนำมานี่ ลงทุนไม่มากแต่อานิสงส์มหาศาล ความจริงถ้าจะพูดถึงอานิสงส์กันจริงๆล่ะก็รู้สึกว่าจะมากกว่าจัดงานที่บ้าน หรือที่วัดตั้งเยอะแยะทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าถวายสังฆทาน เราทำกันแบบเงียบๆ ไม่มีกังวลการ

เพราะว่าจิตที่เราเข้าสู่กุศลมันห่วงงานอื่นมากกว่าไม่ตั้งจิตโดยเฉพาะและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถวายสังฆทานในหมู่สงฆ์ ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ตามพระวินัยท่านเรียกกันว่า คณะสงฆ์ ถ้าต่ำกว่านั้น เป็น คณะบุคคล ถ้าบุคคลเดียว เป็นปาฏิปุคคลิกทาน โดยเฉพาะ ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์เป็นหมู่นี้มีอานิสงส์มากเรื่องนี้ก็มีตัวอย่าง คนที่มีทรัพย์น้อย ทรัพย์มาก อย่างท่านอินทกะเทพบุตรกับท่านอังกุระ - เทพบุตร ไงล่ะ ท่านอังกุระเทพบุตร ทำบุญนอกเขตพระพุทธศาสนาเวลานั้นพระพุทธศาสนาไม่มี ตั้งโรงทาน ๘๐ โรง ให้ทานถึง ๒ หมื่นปี เลี้ยงคนกำพร้าคนตกยาก คนเดินทาง พอตายจากความเป็นคน ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเทวดาที่มีบุญน้อยที่สุดเพราะเขตของบุญเล็กไป คนไร้ศีลไร้ธรรม ใช่ไหมตรงกันข้ามท่านอินทกะเทพบุตร เกิดเป็นคนจน พ่อตาย ตัดฟืนเลี้ยงแม่ก็ไม่ได้ตัดขายมากมาย เอาแค่วันๆ พอกินพอใช้ไปวันๆวันหนึ่งพระสงฆ์เดินผ่านไปที่นั้น ท่านมีโอกาสได้ถวายทานในฐานะที่ไม่ได้เตรียมตัวไว้ก่อนคนจนจะมีอะไรมากนักใช่ไหมล่ะเพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิตเท่านั้นอาศัยคุณ คือความกตัญญูรู้คุณอย่างหนึ่งแล้วก็ถวายสังฆทานหนึ่ง สองอย่างด้วยกัน ตายแล้วไปเป็นเทวดาที่มีบุญมากที่สุดในดาวดึงส์ นอกจากพระอินทร์แล้วไม่มีใครโตกว่า"


โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ







หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๒๓ : สารพันปัญหาว่าด้วยเรื่องทาน



ผู้ถาม"หลวงพ่อคะ การทอดผ้าป่า กับการทอดกฐินอย่างไหนจะได้อานิสงส์มากน้อยกว่ากัน คะ ?" 

หลวงพ่อ"ความจริง ผ้าป่า กับ กฐินก็เป็นสังฆทานด้วยกันทั้งคู่นะ แต่ทว่าอานิสงส์ โดยเฉพาะ กฐิน ได้มากกว่าเพราะว่ากฐินมีเวลาจำกัด คือจะทอดได้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒แต่อานิสงส์ได้ทั้งสองฝ่าย คือผู้ทอดก็ได้ พระผู้รับก็ได้พระผู้รับมีอำนาจคุ้มครองพระวินัยได้หลายสิกขาบท ทำให้สบายขึ้น ต้นเหตุแห่งการทอดกฐินนี้ ก็มีนางวิสาขาเป็นคนแรก ในสมัยนั้นพระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติการจำพรรษา เพื่อป้องกันพระไปเดินเหยียบต้นพืช ต้นข้าวที่ชาวบ้านเขาปลูกไว้ในฤดูฝน ไม่ให้เสียหาย ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุชาวปาฐา ๓๐รูป เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งในเวลานั้น พระสงฆ์ทั้งหลายมีผ้าจำกัดเพียง ๓ผืนเท่านั้น เมื่อมาถึง ในขณะที่นางวิสาขาเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่พอดีเห็นพระมีผ้าสบงจีวรเปียกโชก ด้วยน้ำฝนและน้ำค้างจึงได้กราบทูลขอพรแด่พระพุทธเจ้าว่า

"หลังจากออกพรรษาแล้วขอบรรดาประชาชนทั้งหลายจงมีโอกาสถวายผ้าไตรจีวร แก่คณะสงฆ์ด้วยเถิด"พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุมัติ ส่วนผ้าป่าก็เป็นสังฆทาน แต่อานิสงส์จะน้อยไปนิดหนึ่งแต่ทั้งสองอย่างก็เป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่เป็นสังฆทานเฉพาะกิจกับสังฆทานไม่เฉพาะกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าป่า ผู้ให้ก็ได้อานิสงส์ผู้รับก็มีอานิสงส์แต่เพียงแค่ใช้ เป็นอันว่า ทั้งสองอย่างนี้ ถือว่าอานิสงส์การทอดกฐินมากกว่าผ้าป่า"


ผู้ถาม"แล้วองค์กฐินที่แท้จริงเป็นอย่างไรคะ ?" 

หลวงพ่อ"องค์กฐินจริงๆ คือผ้าไตร นอกนั้นเป็นบริวารเวลากรานกฐินจริงๆ เรากรานกันแต่ผ้า การถวายก็ไม่ยาก เรามีผ้าจีวรผืนหนึ่งหรือว่าสบงผืนหนึ่งหรือว่าสังฆาฏิผืนหนึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เขาเรียกว่าจุลกฐิน หรือจะถวาย ทั้งไตรก็ได้ เขาเรียกว่า ปกติกฐิน แต่ถ้าถวายไตรจีวรครบทั้งวัดเขาเรียกว่า มหากฐิน ฉะนั้น ถวายมากก็ได้ ถวายน้อยก็ได้อานิสงส์เหมือนกัน

คือพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระปทุมมุตตระ ท่านเคยเทศน์ไว้วาระหนึ่งสมัยที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเกิดเป็นมหาทุคคตะ คำว่า "มหาทุคคตะ" นี้คือจนยากเป็นทาสของท่านคหบดีได้ไปฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้า ว่าอานิสงส์กฐินนี้มีมากท่านจึงกลับไปชวนนาย แต่นายก็มอบหมายทรัพย์สมบัติให้ท่านเป็นผู้จัดการทุกอย่างท่านมหาทุคคตะ อยากมีส่วนร่วมในทานนี้ด้วย แต่ไม่มีอะไรมีแต่เสื้อผ้าเก่าๆของตนที่มีติดตัวอยู่เพียงชุดเดียว จึงนำไปแลกที่ร้านในตลาด มีด้าย ๑ กลุ่ม เข็ม ๑เล่มเอามาร่วมในการทอดกฐินกับนาย เพื่อปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลพระองค์ตรัสว่า คนถวายผ้ากฐิน หรือร่วม ในการถวายกฐินทานครั้งหนึ่งจะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็น พระอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาเป็นพระอรหันต์ก็ได้แต่ถ้าหากว่า ยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใดอานิสงส์จะให้ผลแก่ท่านผู้นั้นเมื่อตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาแล้วก็จะลงมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลก ๕๐๐ ชาติเมื่อบุญน้อยลงมา จะเป็นพระมหากษัตริย์ ๕๐๐ ชาติ เป็นมหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติเป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ เป็นคหบดี ๕๐๐ ชาติ แต่คนที่ทอดกฐินหรือว่าร่วมในการทอดกฐินครั้งหนึ่งก็ดี บุญบารมีส่วนนี้ยังไม่ทันจะหมด ก็ปรากฏว่าท่านเจ้าของทาน ไปนิพพานก่อน"

โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ






หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๒๓ : สารพันปัญหาว่าด้วยเรื่องทาน




ผู้ถาม"การที่เราทำบุญใส่บาตรตามหน้าบ้านกับพระที่เรารู้จักตามวัดกับการไปทำที่วัดอันไหนจะมีอานิสงส์มากกว่ากันเจ้าคะ ?"


หลวงพ่อ"คือว่าการใส่บาตรตามหน้าบ้าน ไม่เฉพาะเจาะจงพระอะไรมาก็ใส่อย่างนี้ก็เป็นสังฆทาน ทีนี้ไปใส่บาตรตามพระที่ชอบใช่ไหม ?"


ผู้ถาม"ไม่ใช่ชอบค่ะ คือว่าศรัทธาค่ะ"

หลวงพ่อ"ชอบกับศรัทธาก็ครือกันล่ะ ถ้าศรัทธาฉันตั้งแต่ ๔รูปขึ้นไป เป็นสังฆทาน มีอานิสงส์เหมือนกัน แต่ถ้าหากท่านฉันตั้งแต่ ๑ รูป ถึง ๓รูป อย่างนี้เป็นปาฏิปุคคลิกทาน"

ผู้ถาม"มีอานิสงส์มากไหมคะ ?" 

หลวงพ่อ"มีโยม ถ้าเป็นปาฏิปุคคลิกทานถ้าจัดกันตามลำดับแย่นะ ไล่เบี้ยตั้งแต่ให้ทานกับคน ไม่มีศีล จนถึงพระอรหันต์มีอานิสงส์ไม่เท่ากัน แต่จะพูดสรุปโดยย่อว่าถวายทานกับพระอรหันต์ ๑๐๐ ครั้งมีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระพุทธเจ้า ๑ ครั้งถวายทานกับพระพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้งมีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน ๑ ครั้งและถ้าถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้งมีผลไม่เท่าถวายวิหารทาน ๑ ครั้ง คือสร้างวิหาร มีการก่อสร้าง เช่นสร้างส้วมศาลาการเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร เป็นต้นการถวายสังฆทาน ๑ ครั้งในชีวิตและถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์ มีศรัทธาแท้ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผลของสังฆทานนี้จะดลบันดาลให้แก่บุคคลผู้ถวาย เกิดไปทุกชาติขึ้นชื่อว่าความยากจนเข็ญใจไม่มีในแดนใดที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากขัดสน

ท่านกล่าวว่าแม้แต่พระพุทธญาณเองก็ยังไม่เห็นผลที่สุดของการถวายสังฆทานคำว่า"ไม่เห็นที่สุดของการถวายสังฆทาน"หมายความว่า แม้แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของสังฆทานบำเพ็ญบารมีแล้วแล้วเกิดไปอีกกี่แสนชาติก็ตาม จนกระทั่งเข้าพระนิพพานอานิสงส์นั้นก็ยังไม่หมดนี่เป็นอำนาจของการถวายสังฆทาน

อานิสงส์มันต่างกันลายแสนเท่าแล้วก็ยังมีอีกเวลาหนึ่ง ถ้าพระออกจากสมาบัตินี่คูณหนักเข้าไปอีกไม่รู้เท่าไรทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระมีผลไม่เสมอกันอยู่อย่างหนึ่ง คือหมายความว่าถวายทานแก่พระที่มีจิตกำลังฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจของนิวรณ์ ๕ประการอย่างนี้เราถวายกี่หมื่น กี่แสน อานิสงส์มันก็ไม่มาก ถ้าหากว่าถวายแก่ท่านผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ถ้าหากเข้าถึงจิตบริสุทธิ์เรื่องบริสุทธิ์แค่ไหนก็ช่าง อย่างน้อยที่สุดก็มีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิบางท่านก็เข้าถึงฌานสมาบัติ บางท่านที่เป็นพระอริยเจ้าก็เข้าถึงผลสมาบัติถ้าถวายทานกับท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัติ หมายความว่า ให้คนเดียวนะก็ให้ผลปัจจุบันทันด่วน ให้ผลวันนั้นเลย"


ผู้ถาม "แล้วอย่างการใส่บาตร โดยเราลงมือใส่เองกับให้ลูกจ้าง คือเด็กของเราใส่แทนอย่างไหนจะได้บุญมากกว่ากันคะ ?" >>

หลวงพ่อเราไปไม่ได้ แต่ให้คนอื่นไป ได้บุญเท่ากันแต่เราใส่เอง เราเกิดความปลื้มใจอันนี้ได้กำไรอีกนิด แต่ผลของทานมันเสมอกัน"


ผู้ถาม "เวลาเราใส่บาตรไปแล้วถ้าหากว่าพระไม่ได้ฉันอาหารของเรา เราจะได้บุญไหมคะ ?"





หลวงพ่อ "บุญมันเริ่มได้ ตั้งแต่คิดว่าจะให้แล้วนะพระจะฉันหรือไม่ฉัน ไม่ใช่ของแปลก คือการให้ทาน ตัวให้นี่มันตัดความโลภและตัวให้นี่กันความจน ในชาติหน้า อันดับรองลงมา "ทานัง สัคคโส ทานัง"ทานเป็นบันไดให้เกิดในสวรรค์ ทีนี้ พอเราเริ่มให้ปั๊บ มันเริ่มได้ตั้งแต่เราตั้งใจการตั้งใจนะ มันตัดสินใจเด็ดขาดแล้วนะ เช่นคิดว่าพรุ่งนี้จะใส่บาตร ข้าวขันนี้เราไม่กินแน่นอน คิดว่าเราจะไม่กินเองตั้งแต่วันนี้คิดว่า จะใส่บาตรนี่บุญมันเกิดตั้งแต่เวลานี้ แต่พอถึงพรุ่งนี้ ต้องใส่จริงๆนะอย่านึกโกหกพระไม่ได้นะ ไม่ใช่แกล้งนึกทุกวันๆ คิดว่านึกได้บุญ เลยไม่ได้ใส่บาตรสักทีนี่ดีไม่ดีฉันพูดไปพูดมา เสียท่าเขานะแต่คิดว่าจะทำจริงๆนะ คือพรุ่งนี้จะใส่บาตรแน่ๆแต่ว่าวันนี้เกิดตายก่อน นี่ได้รับ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ก็อย่างที่พระพุทธเจ้าบอกนั่นแหละ"เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วทามิ"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่าตัวตั้งใจเป็นตัวบุญพระพุทธเจ้าบอกว่ามันมีผลตั้งแต่การตั้งใจเริ่มสละออกพอคิดว่าเริ่มจะทำอารมณ์มันตัด ตั้งแต่ตรงนั้นแล้ว ถือว่าไม่ได้เป็นของเราแล้วมันได้ตั้งแต่ตอนนั้น"




ผู้ถาม"หลวงพ่อคะ การใส่บาตร วิระทะโย มีอานิสงส์อย่างไรคะ ?"





หลวงพ่อ"อานิสงส์เท่ากับ ถวายสังฆทานธรรมดา ไม่ต่างกันอานิสงส์เหมือนกันหมด แต่ว่าใช้วิระทะโย ( คาถาภาวนากันจน ) มันมีผลปัจจุบันชาตินี้ทำให้เงินไม่ขาดตัว ถ้าใส่ บาตรทุกวัน สวดมนต์ทุกวัน ถ้าจะหมดก็มีมาต่อจนได้ ถ้าแบ่งเวลาทำสมาธิล่ะก็ ขลังมากรวยมากหน่อย"




ผู้ถาม"เห็นพระบางองค์ดูลักษณะไม่สำรวมท่านวนเวียนคอยรับบาตร บ้านคนโน้นคนนี้แล้วก็ถ่ายใส่ถัง ถ้าเราไม่ใส่บาตรพระแบบนี้เราจะบาปไหมคะ ?" 

หลวงพ่อ "บาป เขาแปลว่า ชั่วบุญ เขาแปลว่า ดีถ้าเราไม่ใส่ก็ไม่ชั่วตรงไหนนี่เพราะ ว่ามันเป็นทรัพย์สินของเรา ถ้าเราให้เขาเขาแสดงอาการไม่เป็นที่ เลื่อมใสเราไม่ให้ก็ไม่เห็นจะแปลกเพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า การให้ทานก็จะต้องเลือกให้เหมือนกันเพราะผู้รับถือว่าเป็น "เนื้อนาบุญ" ถ้าหว่านพืชลงในนาลุ่ม น้ำก็ท่วมตายถ้าดอนเกินไป น้ำไม่ถึงก็ตาย ต้องหว่านในเนื้อนาที่เหมาะ ถ้าเราเห็นนามันไม่ควรเราก็ไม่ให้ ทำไม่เหมาะไม่สม ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ถ้าให้ก็เป็นการเลี้ยงโจรแต่ว่าถ้าพูดถึงทานการให้ เจตนาเราจะตั้งอย่างไรก็ตามตัวนี้มันเป็นผลตัดโลภะอยู่ตลอดเวลาส่วนใหญ่จริงๆ ที่มีอานิสงส์สูงสุด คือตัดโลภะความโลภ เพราะคนที่มีความโลภนี้ให้ทานไม่ได้ เงินที่จะให้ทานได้นี่มันตัดความสุขของเจ้าของหากว่าเจ้าของเขาไม่ให้ เขากินเขาใช้ก็มีความสุขเขาอุตส่าห์ตัดความสุขของเขาส่วนนี้ออกไป เป็นการตัดโลภะความโลภเป็นก้าวหนึ่งที่จะถึงพระนิพพาน อันนี้เขาไม่ต่ำมันเป็น "จาคานุสติกรรมฐาน"จาคานุสติกรรมฐานนี้ไม่ต้องไปภาวนาจิตคิดว่าจะให้ทานทุกวันๆนี่นะจิตคิดว่าถึงเวลานั้นเราจะใส่บาตร มากหรือน้อยก็ตามอันนี้เป็น "จาคานุสติกรรมฐาน" และการใส่บาตรหน้าบ้านเขาถือว่าเป็นสังฆทานมันก็มีผลสำหรับพระผู้รับ ถ้าผู้รับไม่ดีก็ลงอเวจีไปเอง



ผู้ถาม"กระผมอยากจะทำบุญใส่บาตรเหมือนกันครับ แต่คิดว่าของที่จะใส่บาตรทำบุญมันไม่ดี ก็เลยอาย ไม่อยากใส่ กะไว้ว่าถ้ามีอาหารดีเมื่อไหร่ ก็จะใส่บาตรผมคิดอย่างนี้ถูกไหมครับ ?"





หลวงพ่อ"การทำบุญ ทำไมจะต้องอายเคยมีนักเทศน์เขาถามกันว่า "มียายกับตา ๒ คน เขาหุงข้าวแฉะแล้วแฉะอีกไอ้แกงก็เปรี้ยวแล้วเปรี้ยวอีก แกกินไม่ลง ของมันกินไม่ได้เวลาพระมาบิณฑบาตแกก็บอกว่า ใส่บาตรดีกว่า" พระนักเทศน์ เขาก็ถามกันว่า "อย่างนี้จะได้อานิสงส์ไหม ?" ก็ต้องตอบว่า "ได้อานิสงส์ แต่ผลที่เขาจะได้รับก็เป็น "ทาสทาน"




ผู้ถามทาสทาน เป็นยังไงครับ ?





หลวงพ่อ"คำว่า "ทาสทาน"หมายความว่า ให้ของเลวกว่าที่เรากินเราใช้...เวลาที่เราได้ของใช้สอยมันก็ต้องเลวกว่าที่เขากินเขาใช้กันได้ก็ได้ของเลวถ้าให้ของเสมอที่เรากินอยู่ หรือที่เราใช้อยู่ เขาเรียกว่า สหายทานผลที่เราจะได้รับ ก็เสมอกับที่เรากินเราใช้ถ้าให้ของที่ดีกว่าที่เรากินเราใช้เขาเรียกว่า สามีทาน สามีทาน เขาไม่ได้แปลว่า ผัวทานนะ สามีเขา แปลว่า นายเวลาที่จะได้รับผล เราก็จะได้ของเลิศ ถ้าจะถามว่า ทาสทานมีอานิสงส์ไหมก็ต้องดูตัวอย่าง ท่านอาฬวีเศรษฐี เป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์ ๘๐ โกฏิพระราชาตั้งเป็นมหาเศรษฐี แต่ว่าผ้าที่แกนุ่งนี้ ผ้าใหม่แกนุ่งไม่ได้นุ่งผ้าช้ำแล้วใกล้จะขาด แกจึงนุ่งได้ ข้าวที่จะกิน เม็ดสวยๆก็กินไม่ได้ต้องเป็นข้าวหัก หรือเป็นปลายข้าวแกจึงจะกินได้ ของทุกอย่างที่แกใช้ ต้องเป็นของเลวแต่อย่าลืมว่า เขาก็เป็นมหาเศรษฐีได้นะ




อนึ่งการตั้งใจว่าจะใส่บาตรด้วยของดีๆ น่ะดีแต่ว่าวันไหนมีอาหารที่เราคิดว่าไม่ดีก็ใส่บาตรได้การให้ทาน พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่าให้เบียดเบียนตัวเองถ้าเบียดเบียนตัวเอง เป็น "อัตตกิลมถานุโยค"เป็นการทรมานตัว และการให้ทาน พระพุทธเจ้าให้ดูอีกว่าควรให้หรือไม่ควรให้ถ้าให้ในเขตของคนเลว อานิสงส์ก็น้อยอาจจะไม่มีเลยรู้ว่าคนนี้ควรจะให้ เราก็ให้ ถ้าไม่ควรให้ เราก็ไม่ให้ ให้แล้วไปกินเหล้าเมายา ไปสร้างอันตรายกับคนอื่น เราไม่ให้ดีกว่าเป็นการต่อเท้าโจรให้พลังแก่โจรเวลาจะให้ ท่านวางกฎไว้ดังนี้


๑.ผู้ให้บริสุทธิ์บริสุทธิ์หรือไม่ เขาจึงให้สมาทานศีลก่อน ถ้าสักแต่ว่าสมาทานนี่ซวยเวลานั้นต้องตั้งใจรักษาศีลจริงๆ จิตตอนนั้นมันจึงจะบริสุทธิ์คืออยู่ในช่วงว่างจากกิเลสถ้าตั้งใจสมาทานศีลด้วยดี จิตตอนนั้นบริสุทธิ์


๒.ผู้รับบริสุทธิ์หมายความว่า ถ้าผู้รับเป็นพระ ก็พยายามให้เป็นพระจริงๆนะ

๓.วัตถุทานบริสุทธิ์ถ้าไม่ได้ฆ่าสัตว์เอามาทำบุญ ไม่ได้ขโมยสตางค์เขามาทำบุญเป็นของ ๓ อย่างถ้าลดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง อานิสงส์ก็ลดตัวลงมาถ้าลดเสียหมดเลย ก็ไม่มีอานิสงส์แต่ว่าการให้ทานพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อีกประการหนึ่งต้องให้ครบ ๓ กาล จึงจะมีอานิสงส์สูง คือ


๑.ก่อนจะให้ก็ตั้งใจว่าจะให้
๒. ขณะที่ให้ก็ดีใจ
๓.เมื่อให้แล้วก็เกิดความเลื่อมใส

มีเรื่องเล่าว่าในสมัยหนึ่ง เมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีจนลง ขนาดข้าวเป็นแทบไม่มีกินต้องกินปลายข้าวแต่ศรัทธาท่านยังไม่ถอย ท่านนิมนต์พระพุทธเจ้า พร้อมไปด้วยพระสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่บ้าน ท่านก็เอาปลายข้าวละเอียด เรียกว่าข้าวปลายเกวียนต้มแล้วก็เอาน้ำผักดอง เปรี้ยวๆ เค็มๆ ทำเป็นกับมาถวายพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า


"เวลานี้ทานของข้าพระพุทธเจ้าเศร้าหมอง พระพุทธเจ้าข้า"


พระพุทธเจ้าถามว่า "เธอมีเจตนาในการถวายทานอย่างไรล่ะ ?" 

ท่านบอกว่า "ก่อนจะให้เต็มใจพร้อมเสมอ ในขณะที่ให้ก็ปลื้มใจเมื่อให้แล้วก็เกิดความเลื่อมใสดีใจว่าให้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า"


พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า "ดูก่อนมหาเศรษฐี "ลูขัง วา ปณีตัง วา" หมายความว่าถ้าคนให้ทานมีเจตนาพร้อมเพรียงทั้ง ๓ กาลอย่างนี้ ของดีก็ตาม ของเลวก็ตามย่อมมีอานิสงส์เลิศมีอานิสงส์สูง แต่ที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีท่านทำนั้นท่านถวายพระพุทธเจ้า และพระที่ฉันก็เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด นับเป็นยอดของทานถ้าหากว่า เราไม่รู้จะเลือกยังไง องค์นี้จะเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีอรหันต์หรือเปล่า หรือเป็นพระโปเก พระเชียงกง ถ้าเราไม่รู้ ก็ถวายเป็นสังฆทานเลยเพราะสังฆทานมีอานิสงส์สูงมากรองจากวิหารทาน"

อานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาติ

โบราณจารย์กล่าวไว้ว่า บุคคลใดฟังเรื่องมหาเวสสันดรชาดก หรือที่เรียกว่า เทศน์มหาชาติ ซึ่งมีจำนวน 13 กัณฑ์ 1,000 พระคาถาจบภายใน 1 วัน ฟังด้วยจิตใจที่เลื่อมใสและเป็นกุศล จะได้ถือกำเนิดเป็นมนุษย์ในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยในภายภาคหน้า แต่ถ้าไม่สามารถฟังได้จนจบ แต่ฟังและบูชากัณฑ์ใดกัณฑ์หนึ่งในจำนวน 13 กัณฑ์ 1,000 พระคาถาก็จะมีอานิสงส์ดังนี้

1. ผู้ใดบูชากัณฑ์ทศพร จะได้ทรัพย์สมบัติดังปราถนา ถ้าเป็นอิสตรีจะได้สามีที่ประเสริฐ ถ้าเป็นบุรุษจะได้ภรรยาที่ต้องประสงค์เช่นกัน
2. ผู้ใดบูชากัณฑ์หิมพานต์ เมื่อตายไปแล้วจะเกิดในสวรรค์ ครั้นเคลื่อนจากสวรรค์ จะมาเกิดในชาติกษัตริย์
3. ผู้ใดบูชาทานกัณฑ์ เมื่อตายไปแล้วจะเกิดในสวรรค์ทั้ง 6 ชั้นตามลำดับ เสวยราชสมบัติในเทวโลก
4. ผู้ใดบูชากัณฑ์วนปเวศน์ จะมีความสุขในโลกนี้และโลกหน้า เกิดชาติหน้าจะเกิดในชาติกษัตริย์ สมบูรณ์ด้วยสติปัญญา
5. ผู้ใดบูชากัณฑ์ชูชก ในชาติหน้าจะเกิดในชาติกษัตริย์ มีสิริโฉมและรูปร่างที่งดงาม จะเจรจาปราศัยก็ไพเราะเสนาะโสต ถ้าไก้กำเนิดบุตรธิดาก็จะเป็นผู้มีสิริโฉมงดงามเช่นกัน อีกทั้งมีนิสัยที่ว่านอนสอนง่าย
6. ผู้ใดบูชากัณฑ์จุลพล จะเกิดในภพชาติใด ๆ จะบริบูรณ์ด้วยบริวารและสมบัติ เมื่อตายไปก็จะเกิดในสวรรค์
7. ผู้ใดบูชากัณฑ์มหาพล เมื่อตายไปจะเกิดในสวรรค์ เมื่อเคลื่อนจากสวรรค์นั้นจะเกิดในชาติกษัตริย์
8. ผู้ใดบูชากัณฑ์กุมาร เมื่อตายไปจะมาเกิดในสวรรค์ทั้ง 6 ชั้นตามลำดับ จะมาเกิดในชาติกษัตริย์ในสมัยของพระศรีอริยเมตไตรย และจะได้ออกบวชบรรลุเป็นพระอรหันต์ในโลก
9. ผู้ใดบูชากัณฑ์มัทรี เกิดในชาติหน้าจะมีอายุยืน และจะมีสิริโฉมงดงามยิ่งนัก
10. ผู้ใดบูชากัณฑ์มหาราช จะได้สมบัติทั้ง 3 อย่าง คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ และเมื่อเกิดในชาติหน้าจะได้เกิดในชาติกษัตริย์
11. ผู้ใดบูชากัณฑ์กษัตริย์ ในภายภาคหน้าจะเจริญด้วยจตุรพรชัยทั้ง 4 วรรณะ คือ อายุ วรรณะ สุขะและพละ
12. ผู้ใดบูชากัณฑ์นคร จะบริบูรณ์ด้วยวงศาคณาญาติ จะได้อยู่พร้อมหน้ากันอย่างมีความสุข จะทำกิจกรรมการงานใดก็ประสบความสำเร็จ

อานิสงส์ของการถวายพระไตรปิฎก

วันหนึ่งท่าน พระสารีบุตร เวลานั้นชื่อ อุปติสสะ อาศัยที่ถวายพระไตรปิฎกไว้ในพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้เป็น ผู้มีปัญญาเลิศ ทีนี้ความเป็นผู้มีปัญญาเลิศของพระสารีบุตร เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้ว เราอาจจะคิดว่า เป็นของมหัศจรรย์ เราพบว่า แก้วนี่ถ้าปราศจากละอองธุลี เข้ามาเบียดบังทำให้แปดเปื้อนมันก็ใส จิตของพระอรหันต์ก็ใส ประกอบไปด้วยประกาย คือหาอะไรเปื้อนไม่ได้ จึงเป็นผู้ทรงปัญญาเลิศ ตอนนี้เราก็ว่าอัศจรรย์แล้วแต่คิดไปอีกทีไม่น่าอัศจรรย์ เพราะเป็นพระอรหันต์ 

นี่เราหลบกลับลงมา อีกครั้งหนึ่งตอนที่ พระโมคคัลลาน์ กับ พระสารีบุตร ยังเป็นลูกชาวบ้านอยู่เรา จะเห็นปัญญา พระสารีบุตร ที่ท่านทั้งสอง ไปดูมหรสพ แล้วเกิดอารมณ์เศร้าใจ วันอื่นนั้น สบายใจ ดีใจร่าเริง ให้รางวัล แก่ผู้แสดงมหรสพ แต่วันนั้น ทั้งสององค์ ต่างนั่งหน้าเศร้า หน้าสลด ไม่ร่าเริง ทั้งนี้เพราะดู ๆ มหรสพก็นั่งคิดไปว่า

"เฮ้อ คนดูมหรสพนี่ไม่ช้าก็ตายหมดพวกแสดงนี่ไม่ช้าก็ตายหมด แถมเราเองก็ต้องตายเสียด้วยถ้าอย่างนั้น เราเกิดมาเพื่อ ตายอยู่ทำไมกัน เกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด" 

ท่านก็มาใคร่ครวญว่า "ธรรมที่ทำให้คนที่เกิดมาแล้วตายได้มันมี ก็ต้องมีอะไรสักอย่าง ที่เป็นธรรม ที่ทำให้คนเกิดไม่ตาย ได้" 

หมายความว่า เมื่อมีมืดแล้ว ก็มีสว่างคู่กัน หรือ ทางพ้นแห่งความตาย ที่เราเรียกว่า โมกขธรรม

ท่านทั้งสองตกลงใจกันว่า เราเปิดเถอะไปหา โมกขธรรม ธรรมที่เป็นเครื่องพ้น แห่งความตายดีกว่า จึงลาพ่อลาแม่ มีบริวารคนละ 250 เพราะ เป็นลูกมหาเศรษฐี ออกจากสำนักพ่อแม่ไป บริวารของทั้งสองท่าน รวมกันเป็น 500 หัวหน้าอีกสอง คือ ตัวท่านเอง เป็น 502 ท่าน เข้าไปอยู่ในสำนักสัญชัยปริพาชก ท่านสัญชัยปริพาชก ก็สอนสุดกำลัง ท่านทั้งสอง ก็เรียนเต็มที่ เพราะความมีปัญญาด้วยกันทั้งคู่ ปรากฏว่า ไม่ช้าท่านก็เรียนจบ แล้วก็มีความฉลาดเก่งกาจมาก 

ท่านสัญชัยปริพาชก ก็ให้เป็นอาจารย์สอนแทน แต่ว่าท่านทั้งสองนี่อาศัยที่มีบุญญาบารมีเต็มแล้ว ควรที่จะเป็นพระอรหันต์ จึงมาคำนึงพิจารณาว่า ความรู้ที่ได้จากสำนักนี้ ยังไม่จบ ยังไม่พ้นจากความตาย ธรรมที่ดีกว่านี้ต้องมีอีก

นี่เพราะดวงปัญญาของท่านเดิม ที่เคยถวายพระไตรปิฎกแก่พระ 

ท่านทั้งสองจึงตกลงกันว่า "นี่เราช่วยกันแสวงหาโมกขธรรม ถ้าใครเจอะอาจารย์ ดีกว่านี้ ก็มาบอกกัน หรือใครไปพบธรรมในการค้นคว้าดีกว่านี้ละก้อ กลับมาบอกกัน" 

ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้า บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ เวลานั้น ก็มีลูกศิษย์ปัจจวัคคีย์อยู่ 5 องค์ เป็นพระบริวาร เมื่อท่าน 5 ท่านบรรลุอรหันต์แล้ว พระพุทธเจ้า ทรงสั่งให้ไปประกาศ พระศาสนา แต่มีเงื่อนไขว่า ไปแล้วอย่ารวมกัน ให้แยกกันไปคนละที่ 

บังเอิญ พระอัสสชิ มาสายนั้นพอดี ท่านก็บิณฑบาต อยู่ใกล้ ๆ แถวนั้น ต่อมาวันหนึ่ง พระสารีบุตร เวลานั้น ชื่อว่า อุปติสสะ ท่านออกไปจากสำนัก ก็พอดีเห็นพระอัสสชิเดินออกบิณฑบาตผ่านไป เห็นลีลาของท่าน ไม่ว่าจะเป็นลีลาการเยื้องกาย ก้าวเท้าซ้าย แกว่งเท้าขวา อิริยาบถใด ดูแล้วงามจริง ๆ เป็นจริยานิ่มนวล ท่านจึงคิดในใจว่า

"พระสมณะองค์นี้น่าเลื่อมใส เราอยากจะรู้จักนักว่าเป็นลูกศิษย์ใคร สำนักของเรานี่มีลูกศิษย์เป็นพันเป็นหมื่น แต่จริยานิ่มนวลในการสำรวมในการเดิน การทอดจักษุแบบนี้ไม่มีหากว่า เราจะถามเวลานี้ในขณะที่ท่านบิณฑบาต ก็ไม่ควร" 

นี่ดูความเป็นผู้มีปัญญาของพระสารีบุตรท่านก็นึกต่อไป 

"มันเป็นเวลาที่ไม่ควร เราควรจะถามในเวลาที่ท่านกลับ" 

เห็นท่านเดินไป พระสารีบุตรนั่ง ตอนนั้น ท่านยังเป็นปริพาชก ยังไม่เป็นพระสารีบุตร ชื่อเดิมว่า อุปติสสะ ที่เขาเรียก สารีบุตร ก็เพราะว่า เดิมแม่ชื่อ สารี เวลาพระอัสสชิกลับมา ท่านก็ย่องเข้าไปยกมือไหว้แล้วก็ถาม

"พระคุณเจ้าเป็นลูกศิษย์ของใคร อยู่สำนักของใคร ชอบใจธรรมะของท่าน ครูของท่านสอนว่าอย่างไร" 

พระอัสสชิท่านเป็นอรหันต์รุ่นแรกซะด้วย นี่เขาว่าขลังนะ แต่ความจริง พระอัสสชินี่ เป็นพระอรหันต์ สุกขวิปัสสโก เราจะจับกันได้ ก็ตอนพระอัสสชินิพพาน ตอนนั้น เป็นโรคกระเพาะ ครางอ๋อย บ่นบอกให้พระไป ตามพระพุทธเจ้ามา เพราะโรคมัน เบียดเบียนมาก ท่านก็ยืนมอง พระสารีบุตร ปั๊บเดียวก็รู้ว่าเป็น พระอรหันต์ เพราะอรหันต์นี่จิตสะอาดมาก ท่านก็นึก 

"ปริพาชกคนนี้ฉลาดมาก หากเราขืนพูดมากเดี๋ยวถูกต้อนจนมุม" 

ท่านก็เลยบอก "ปริพาชก เราเป็นผู้ใหม่ในพระพุทธศาสนา เราเป็นลูกศิษย์ ของพระสมณโคดม ท่านถามปัญหาของท่าน เราตอบแบพิสดารไม่ไหว เพราะเรายังใหม่อยู่ มีความรู้ไม่มาก "

แต่ความจริงพระอรหันต์น ี่ไปไล่ท่านไม่จนหรอก ตอนนั้นพระสารีบุตรยังไม่เป็นพระอรหันต์นี่ ไล่อย่างไรก็ไม่จน เพราะพระอรหันต์นี่ ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ ไม่ต้องอาศัยหนังสือ เดี๋ยวนี้ปัญญาจะเกิดได้ ต้องอาศัยหนังสือก่อน พระสารีบุตรได้ยิน เช่นนั้นก็เลยบอกว่า "ท่านจะพูดเรื่องพิสดารทำไมเอาแค่หัวข้อย่อๆ ก็พอแล้ว" 

พระอัสสชิจึงกล่าวว่า "ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระพุทธเจ้าตรัสเหตุของธรรมนั้น" 

เพียงเท่านี้พระสารีบุตรก็เข้าใจทันที แล้วก็สำเร็จพระโสดาบัน

นี่เราจะเห็นว่า ปัญญาของท่าน แม้แต่ยังไม่เป็นอรหันต์ เพียงธรรมโดยย่อ ก็เข้าใจทันที และก็สำเร็จพระโสดาบันปัตติผล ต่อมากลับมาพบพระโมคคัลลาน์ก็บอกว่า

"เวลานี้พบโมกขธรรมแล้ว เจออาจารย์ใหม่ด้วย" 

พระโมคคัลลาน์ก็ถาม "ธรรมนั้นได้มาอย่างไร" 

พระสารีบุตรก็บอกตามนั้น พระโมคคัลลาน์ ก็ได้พระโสดาปัตติผลเหมือนกัน นี่เราจะเห็นว่า ปัจจัยที่ได้ ถวายพระไตรปิฎก ไว้ในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ว่าจะเป็นผู้มีปัญญา ประเสริฐกว่าบุคคลอื่น เหมือนกันแต่ทว่าไป โดนคนที่เขาถวาย พระไตรปิฎกเหมือนกัน ก็เห็นจะไม่เหลื่อมล้ำกว่ากันแน่ เคยไปเทศน์ชนกัน เทศน์บางที เรื่องคืบเดียว 3 วันยังไม่จบ เพราะ มีข้อไล่ กันไป ไล่กันมาไม่จบอย่างนี้ ก็พิสูจน์ได้ว่า พวกนี้เขาฝึกฝนปัญญามาด้วยการถวายพระไตรปิฎกในพระศาสนา

นี่เป็นอันว่า การที่ญาติโยมเอาพระไตรปิฎก กับเชิงเทียนมาถวายวัด เชิงเทียนนี่ก็เป็น ประทีปโคมไฟ พระไตรปิฎกก็เป็น ตัวปัญญา ฉะนั้นอานิสงส์ที่จะพึงได้ก็คือ 

1.ทิพจุกขุญาณ 

2. ปัญญาเลิศ 

สำหรับท่านที่เป็นผู้ร่วมรายการด้วยการโมทนาก็เป็น ปัตตานุโมทนามัย เราเป็นคนมีปัญญาไม่ถึงหัวแถวอยู่กลางๆแถว หรือท้าย ๆ แถวก็ได้ พวกที่จะได้ทิพจักขุญาณ ก็เหมือนกัน บุญใดที่เขาทำแล้วเรา ยินดีด้วย เรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย ดูตัวอย่าง พระนางพิมพา ไม่เคยทำบุญเองเลย พระพุทธเจ้าทำคนเดียว แต่พระนางพิมพาโมทนาตลอดกาล เวลาพระพุทธเจ้าเป็นอรหันต์ พระนางก็เป็นอรหันต์ได้ เพราะปัตตานุโมทนาอันนี้เอง